วิธีการดูแลรักษายางสำหรับรถบรรทุกและรถโดยสาร
วิธีการดูแลรักษายางสำหรับรถบรรทุก และรถโดยสาร
- ใช้ยางใน ยางรอง ขนาดและประเภทเดียวกับยางนอก บางครั้งผู้ใช้บางรายนำเอายางในที่มีขนาดเล็กกว่ามาใส่กับยางนอกที่ใหญ่กว่า เช่น ยางในขนาด 9.00-20 ใช้กับยางนอก 10.00-20 ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่ายางในเมื่อสูบลมก็จะทำให้ยาง ในที่มีเนื้อบางอยู่แล้วมีการขยายตัวมากกว่าปกติ ซึ่งทำให้เสียหายได้ง่าย
- โครงสร้างและดอกยาง ต้องเลือกให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานนั้นๆ ต้องคำนึงถึงความลึกของร่องดอกยางที่แตกต่างกันด้วย ถึงแม้จะเป็นแบบเดียวกันเพื่อความเหมาะสมต่อสภาพการใช้งานที่แตกต่างกัน ฉะนั้นร่องดอกยางจึงมีทั้งแบบตื้นและแบบลึกพิเศษ
- ทุกๆ ครั้งที่เปลี่ยนยางใหม่ ถ้าเป็นยางที่ใช้ยางใน ควรเปลี่ยนยางในและยางรองใหม่ทั้งหมด
- ใช้กระทะล้อที่มีขนาดเหมาะสมกับยาง
- ควรมีฝาครอบปิดวาล์วเติมลมอยู่เสมอ เพื่อป้องกันฝุ่น เศษหิน กรวด ดิน ที่เข้าไปแทรก ทำให้ลมยางรั่วซึมได้
การบรรทุกน้ำหนัก การบรรทุกน้ำหนักเกินอัตราจะทำให้ดอกยางสึกหรออย่างรวดเร็ว, โครงผ้าใบบริเวณขอบยางหัก และยางบวมล่อนระเบิดได้ง่าย
- การบรรทุกน้ำหนักมากทำให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
- การบรรทุกน้ำหนักเกินอัตราจะบั่นทอนอายุยาง
- การบรรทุกสิ่งของในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง จะทำให้ยางเสียหายก่อนกำหนด
การใช้ความเร็ว การขับด้วยความเร็วสูงทำให้เกิดปัญหาดังต่อไปนี้
- ระยะทางในการเบรคหยุดรถเพิ่มมากขึ้น
- ดอกยางสึกหรอเร็ว
- เกิดความร้อนในยางเพิ่มขึ้น
- ยางเกิดการบวมล่อนและระเบิดได้ง่าย
-
สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
ศูนย์ล้อ โดยปกติแล้วล้อจะไม่ได้ตั้งตรงตามแนวดิ่งหรือขนานกับตัวรถแต่จะเอียงทำมุมกับรถเพื่อช่วยให้รถวิ่งตรงทิศทาง และสะดวกใน การบังคับเลี้ยว ดังนั้น มุมล้อหรือศูนย์ล้อจะต้องถูกต้องตามค่าที่กำหนด จึงควรตรวจสอบศูนย์ล้อและช่วงล่างทุกครั้งที่เปลี่ยนยางใหม่ และทุกๆ 6 เดือน นอกจากนี้หากศูนย์ล้อผิดปกติจะทำให้ยางไม่สึกเรียบ สึกเร็ว และทำให้ควบคุมพวงมาลัยได้ยากรถจะเสียการทรงตัวได้ง่ายปกติแล้ว ปัญหาศูนย์ล้อจะเกิดกับล้อคู่หน้ามากกว่าล้อคู่หลัง การใช้ยางล้อคู่ ในกรณีที่ใช้ยางล้อคู่ควรใช้ยางที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางหรือเส้นรอบวงยางเท่ากัน ใช้ยางที่มีความสูงของยางแตกต่างกันแต่ถ้า จำเป็นก็ควรปฏิบัติตามตัวอย่างต่อไปนี้ ยางขนาด 9.00 ขึ้นไป อนุโลมให้ความสูงของยางต่างกันได้ไม่เกิน 8 มม. หากเป็นยางโครงสร้างผ้าใบธรรมดาให้ต่างกันได้ถึง 12 มม.ในยางขนาด 8.25 มม. ถ้าเป็นยางเรเดียลอนุโลมให้มีความสู ของยางแตกต่างกันได้ 6 มม. หากเป็นยางผ้าใบธรรมดาให้ แตกต่าง กันได้ 8 มม. อย่างไรก็ตามยางที่มีความสูงไม่เท่ากันเมื่อนำมาใช้คู่กัน ยางเส้นที่สูงกว่าจะรับน้ำหนักมากกว่าเป็นผลให้ยางชำรุดเสียหายง่าย กรณีที่ใช้ยางที่มีความสูงของยางไม่เท่ากันในเพลาเดียวกัน ยางแต่ละด้านจะทำให้เสียการทรงตัวพวงมาลัยจะฝืนหรือหนักไปด้านล้อที่ เล็กกว่า หากใช้เป็นเวลานานจะส่งผลเสียถึงระบบรองรับ (Chassis) ของรถคันนั้นด้วย การสลับตำแหน่งยาง เมื่อใช้ยางใหม่ไปประมาณ 5,000 – 10,000 กม. จำเป็นต้องสลับตำแหน่งยางเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยางการสลับ ตำแหน่งที่ถูกต้องจะช่วยยืดอายุของยาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตำแหน่งล้อหน้า จะเกิดการสึกผิดปกติของดอกยางง่ายที่สุดการสลับ ยางช่วยให้ยางสึกเรียบและเท่าเทียมกัน การสลับยางเพื่อให้ยางหมุนกลับทิศทางกัน เพื่อแก้ปัญหาการสึกไม่เรียบนั่นเองยางที่ใช้ในล้อหลังซึ่งเป็นแรงกรุย (ล้อขับเคลื่อน) เมื่อเปลี่ยนไปใช้ล้อหน้าจะทำให้อายุยางยาวขึ้น ลมยาง การเติมลมยางถือว่าเป็นปัจจัยหลักในการดูแลรักษายางรถยนต์ ถ้าขาดการดูแลที่ดี จะเกิดผลเสียดังนี้ เติมลมน้อยเกินไป ยางจะบวมล่อนได้ง่ายอายุการใช้งานลดลง ดอกยางสึกผิดปกติอาจจะสึกที่ขอบยางข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างสึกที่ไหล่ยางหรือสึกที่ปลายดอกมีความฝึดที่ผิวสัมผัสมากซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงกว่าปกติ เติมสูบลมมากเกินไป เมื่อได้รับแรงกระแทกจะระเบิดได้ง่าย อายุการใช้งานลดลง ดอกยางโดยเฉพาะกลางหน้ายางจะสึกมากถ่ายเทการสั่นสะเทือน หรือการ กระแทกขึ้นสู่ตัวรถได้มาก ขาดความนุ่มนวล การเติมลมของยางล้อคู่ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเติมลมและรักษาระดับแรงดันลมในล้อคู่ให้เท่ากันตลอดเวลา ไม่เช่นนั้นยางเส้นที่มีแรงดันมากจะรับน้ำหนักมาก ชำรุดเสียหายง่ายสึกหรอผิดปกติเส้นที่เติมลมน้อยจะรับน้ำหนักน้อยการสึกของยางจะไม่เรียบเสมอกัน หรือสึกอย่างผิดปกติ - ไม่ควรปรับความดันลมยางในขณะยางร้อน เนื่องจากความร้อนทำให้อากาศขยายตัว - ยางเรเดียลเส้นลวดต้องเติมลมมากกว่ายางผ้าใบธรรมดา ความแตกต่างของแรงดันลมเพียง 1 ก.ก./ซ.ม.2 หรือ 14 ปอนด์/ตร.นิ้ว จะรับน้ำหนักต่างกันถึง 400 ก.ก. ถ้าแรงดันลมต่างกัน 2 ก.ก./ซ.ม.2 หรือ 28 ปอนด์/ตร.นิ้ว จะรับน้ำหนักต่างกันถึง 800 ก.ก. ในกรณีแรงดันลม ต่างกัน 2 ก.ก./ซ.ม.2 หรือ 28 ปอนด์/ตร.นิ้ว ยางเส้นที่เติมลมมาก จะมีอายุใช้งานเพียง 70% เส้นที่ลมยางอ่อนจะมีอายุการใช้งานเหลือเพียง 45% การเติมลมให้เท่ากันจึงมี ความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น จึงควรเติมลมให้พอดีตามเกณฑ์ที่โรงงานกำหนด หรือพิจารณาให้สอดคล้องกับสภาพการใช้งาน นอกจากต้องเติมลมให้ ถูกต้องแล้วจะต้องมีการตั้งศูนย์ล้อ ตั้งมุมของล้อหน้า ให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดตามมาตรฐานของรถยี่ห้อนั้นๆ อีกด้วย การตรวจเช็คลมยางควรตรวจเช็คในขณะที่ยางยังเย็นอยู่ และเพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้องควรเติมลมยางให้ได้ตามมาตรฐานที่บริษัท รถกำหนด นอกจากนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเก็บยางไว้นานๆ ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ยางสัมผัสกับความร้อน แสงแดด ลม ฝน ความชื้นน้ำมัน และสารเคมีต่างๆ หากสามารถปฏิบัติได้ตามนี้ อายุการใช้งานของยางก็จะยาวนานขึ้น ขอบคุณข้อมูลจาก บริดจสโตน