
ข่าวสารและกิจกรรม


จอมปาดหนาวแน่ ! 9 พ.ค.นี้ เริ่มออกใบสั่งจาก “กล้องเลนเชนจ์”
Onelink Admin ข่าวสารและกิจกรรม กรมการขนส่งทางบก GPS จีพีเอส จีพีเอสรถยนต์ จีพีเอสรถบรรทุก 0
ตำรวจได้ทดสอบใช้กล้องตรวจจับผู้ฝ่าฝืนกฎจราจร รถปาดเบียดทางขึ้นสะพานและอุโมงค์ลอดแยก 15 จุด พบว่า เพียงเดือนเดียวมีผู้กระทำผิดถึง 2 แสนราย ส่วนการออกใบสั่งเพื่อจับปรับ จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 9 พ.ค.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (6 พ.ค. 61) พ.ต.อ.กิตติ อริยานนท์ รองผู้บังคับการตำรวจราจร เปิดเผยว่า หลังจากกองบังคับการตำรวจราจร ได้ดำเนินการติดตั้งกล้องจับรถเปลี่ยนช่องทางกะทันหัน หรือกล้องเลนเชนจ์ ขับรถปาดเบียดทางขึ้นสะพานและอุโมงค์ลอดทางแยก ตามโครงการติดตั้งระบบตรวจจับรถฝ่าฝืนเปลี่ยนช่องทางเดินรถในเขตห้าม
โดยเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการติดตั้งระบบกล้องเลนเชนจ์เสร็จสิ้นแล้วทั้ง 15 จุด พร้อมทั้งได้มีการเปิดทดลองระบบตรวจจับ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของกล้องมาแล้วตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา
จากการทดลองพบว่า มีประชาชนทำผิดในระยะเวลาที่ทดลองมากกว่า 200,000 ราย หรือเฉลี่ยวันละ 7,000 ราย และหลังจากนี้จะเริ่มบังคับใช้กฎหมาย และออกใบสั่งสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนปาดเบียดแซงในเส้นทึบ โดยกล้องดังกล่าว ในวันที่ 9 พฤษภาคมนี้ โดยการตรวจจับที่ผ่านมาจะไม่นำภาพมาออกใบสั่ง เนื่องจากอยู่ในช่วงการทดลอง
ภาพจาก จส.100
ทั้งนี้ กล้องตรวจจับรถฝ่าฝืนกฎจราจร เปลี่ยนช่องทางเดินรถในเขตห้าม (Lane Change Management System) หรือ เลนเชนจ์ เป็นกล้องที่มีคุณสมบัติตรวจจับผู้กระทำความผิดได้ถึงร้อยละ 80 ภาพมีความคมชัด สามารถอ่านทะเบียนรถที่กระทำความผิดได้ชัดเจน
สำหรับการติดตั้งกล้องเลนเชนจ์ 15 จุดทั่วกรุงเทพฯ ได้แก่
-
สะพานข้ามแยกบางเขน ถนนงามวงศ์วาน ขาออก
-
สะพานข้ามแยกศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ ขาออก
-
ทางลอดแยกห้วยขวาง ถนนรัชดาภิเษก ขาเข้า
-
สะพานข้ามแยกบรมราชชนนี ถนนบรมราชชนนี ขาออก
-
สะพานข้ามแยกวงเวียนบางเขน ถนนแจ้งวัฒนะ ขาเข้า
-
สะพานข้ามแยกราชเทวี ถนนเพชรบุรี ขาออก
-
แยกสามเหลี่ยมดินแดง ถนนดินแดง ขาเข้า
-
สะพานข้ามแยกประชานุกูล ถนนรัชดาภิเษก ขาออก
-
สะพานศิริราชด้านถนนอรุณอมรินทร์ ถนนอรุณอมรินทร์ ขาออก
-
แยกรัชดา-ลาดพร้าว ถนนลาดพร้าว ขาออก
-
แยกรัชดา-ลาดพร้าว ถนนลาดพร้าว ขาเข้า
-
สะพานข้ามแยกวงศ์สว่าง ถนนรัชดาภิเษก ขาออก
-
สะพานข้ามแยกพระราม 4 ถนนรัชดาภิเษก ขาออก
-
สะพานพระพุทธยอดฟ้า ถนนประชาธิปก ขาเข้า
-
สะพานข้ามแยกกำนันแม้น ถนนกัลปพฤกษ์ ขาออก
ขอบคุณข้อมูล: workpointnews.com

10 อันดับยอดขายรถยนต์-รถกระบะประจำเดือนมีนาคม 2561
suthat seangsai ข่าวสารและกิจกรรม 0
เผย 10 อันดับยอดขายรถยนต์-รถกระบะประจำเดือนมีนาคม 2561 ที่ผ่านมา พบว่า “โตโยต้า” มาแรงในกลุ่มรถยนต์นั่ง ส่วน “อีซูซุ” ยังคงครองแชมป์รถกระบะ
นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยถึงยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศไทยประจำเดือนมีนาคม 2561 ที่ผ่านมา มียอดจำหน่ายรวมทั้งสิ้น 95,082 คัน เพิ่มขึ้น 12.1 เปอร์เซ็นต์ โดยแบ่งออกเป็นรถยนต์นั่งจำนวน 34,765 คัน เพิ่มขึ้น 3.8 เปอร์เซ็นต์ รถเพื่อการพาณิชย์จำนวน 60,317 คัน เพิ่มขึ้น 17.5 เปอร์เซ็นต์ และรถกระบะขนาด 1 ตัน จำนวน 48,258 คัน เพิ่มขึ้น 15 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งการเติบโตของตลาดรถยนต์ดังกล่าวเป็นผลจากรถยนต์รุ่นใหม่ที่เปิดตัวตั้งแต่ช่วงต้นปี และการจัดงานมอเตอร์โชว์ช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ประกอบกับเศรษฐกิจในประเทศโดยรวมมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลเชิงบวกให้กับตลาดรถยนต์ด้วยเช่นกัน
สำหรับยอดจำหน่ายรวมทุกเซกเม้นต์พบว่า “โตโยต้า” ยังคงนำเป็นอันดับที่ 1 ด้วยตัวเลข 26,717 คัน ในเดือนมีนาคมที่่ผ่านมา ตามด้วย “อีซูซุ” อยู่ที่ 18,811 คัน และ “ฮอนด้า” อยู่ที่ 10,197 คัน
ขณะที่ยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งพบว่า “โตโยต้า” ขึ้นนำเป็นอันดับ 1 เช่นกัน ด้วยตัวเลข 9,507 คัน ตามด้วย “ฮอนด้า” อยู่ที่ 7,709 คัน ขณะที่ “มาสด้า” มาแรงไม่แพ้กันอยู่ที่ 4,944 คัน ด้านฝั่งรถยนต์หรูพบว่า “เมอเซเดส-เบนซ์” ยังคงครองแชมป์ด้วยตัวเลข 1,214 คัน ตามด้วย “บีเอ็มดับเบิลยู” อยู่ที่ 996 คัน และ “วอลโว่” อยู่ที่ 112 คัน
ด้านรถกระบะขนาด 1 ตัน พบว่า “อีซูซุ” มาแรงเป็นอันดับ 1 ด้วยตัวเลข 15,982 คัน ตามด้วย “โตโยต้า” อยู่ที่ 11,734 คัน และ “ฟอร์ด” อยู่ที่ 5,740 คัน
10 อันดับยอดขายรถยนต์รวมทุกประเภทเดือนมีนาคม 2561
- Toyota – 26,717 คัน
- Isuzu – 18,811 คัน
- Honda – 10,197 คัน
- Mitsubishi – 8,008 คัน
- Nissan – 6,870 คัน
- Ford – 6,772 คัน
- Mazda – 6,646 คัน
- Suzuki – 2,402 คัน
- MG – 2,373 คัน
- Chevrolet – 2,018 คัน
10 อันดับยอดขายรถยนต์นั่งเดือนมีนาคม 2561
-
Toyota – 9,507 คัน
-
Honda – 7,709 คัน
-
Mazda – 4,944 คัน
-
Nissan – 4,381 คัน
-
Mitsubishi – 2,891 คัน
-
Suzuki – 2,152 คัน
-
Mercedes-Benz – 1,214 คัน
-
BMW – 996 คัน
-
MG – 753 คัน
-
Volvo – 112 คัน
9 อันดับยอดขายรถกระบะเดือนมีนาคม 2561
-
Isuzu – 15,982 คัน
-
Toyota – 11,734 คัน
-
Ford – 5,740 คัน
-
Mitsubishi – 3,782 คัน
-
Nissan – 2,257 คัน
-
Chevrolet – 1,929 คัน
-
Mazda – 610 คัน
-
Tata – 41 คัน
-
Foton – 3 คัน
5 อันดับยอดขายรถพีพีวีเดือนมีนาคม 2561
-
Toyota – 2,613 คัน
-
Mitsubishi – 1,335 คัน
-
Isuzu – 1,260 คัน
-
Ford – 900 คัน
-
Chevrolet – 72 คัน
ขอบคุณข้อมูล https://auto.sanook.com/63717/

ติด GPS ONELINK แท็กซี่มีรายได้เพิ่มขึ้น
suthat seangsai ข่าวสารและกิจกรรม 0
บริษัท วันลิ้งค์ เทคโนโลยี่ จำกัด เปิดตัวอุปกรณ์จีพีเอส GPS Tracking สำหรับติดตามรถแท็กซี่ ภายใต้ชื่อ Onetrack Taxi ตามนโยบายของกรมการขนส่งทางบก ภายใต้โครงการ TAXI OK และ TAXI VIP ซึ่งจะนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการรถแท็กซี่ ซึ่งเป็นระบบติดตามรถแบบ Real-time พร้อมอุปกรณ์แสดงตัวผู้ขับที่ใช้กับใบอนุญาตขับรถสาธารณะ ที่ขนส่งออกให้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ONETRACK TAXI จีพีเอส ติดรถ #แท็กซี่ มาตรฐานกรมการขนส่งทางบก อุปกรณ์ทันสมัย ใช้งานง่าย พร้อม call center 24 ชั่วโมง
อุปกรณ์ทันสมัย ใช้งานง่าย
พร้อม call center 24 ชั่วโมง

แนะนำเส้นทางเลือกในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 61
suthat seangsai ข่าวสารและกิจกรรม 0
กรุงเทพฯ – ภาคเหนือ
เส้นทางที่ 1 จากกรุงเทพฯไป รังสิต (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) – จ.อยุธยา – จ.อ่างทอง – จ.สิงห์บุรี (ทางหลวงหมายเลข 32 ถนนสายเอเชีย) – อ.มโนรมย์ (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครสวรรค์
เส้นทางที่ 2 จากกรุงเทพฯไป จ.นนทบุรี (ทางหลวงหมายเลข 340 บางบัวทอง – สุพรรณฯ) – จ.สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข 340 สุพรรณฯ – ชัยนาท) – จ.ชัยนาท (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครสวรรค์
เส้นทางที่ 3 จากกรุงเทพฯไป รังสิต – อ.วังน้อย – จ.สระบุรี – จ.ลพบุรี (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) – อ.ตากฟ้า (ทางหลวงหมายเลข 11) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดพิษณุโลก
กรุงเทพฯ – ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เส้นทางที่ 1 จากกรุงเทพฯไป จ.สระบุรี (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) – อ.ม่วงค่อม (ทางหลวงหมายเลข 205) – อ.ท่าหลวง (ทางหลวงหมายเลข 2256) – อ.ด่านขุนทด (ทางหลวงหมายเลข 2148) – อ.ขามทะเลสอ (ทางหลวงหมายเลข 2068) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมา
เส้นทางที่ 2 จากกรุงเทพฯไป อ.วังน้อย (ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน) – จ.สระบุรี – อ.ปากช่อง – อ.สีคิ้ว (ทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมา
เส้นทางที่ 3 จากกรุงเทพฯไป จ.นครนายก (ทางหลวงหมายเลข 305) – อ.บ้านนา (ทางหลวงหมายเลข 3051, 33) – อ.แก่งคอย (ทางหลวงหมายเลข 3222) – อ.ปากช่อง (ทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมา
เส้นทางที่ 4 จากกรุงเทพฯไป จ.ฉะเชิงเทรา (ทางหลวงหมายเลข 314) – อ.พนมสารคาม – อ.กบินทร์บุรี – อ.วังน้ำเขียว – อ.ปักธงชัย (ทางหลวงหมายเลข 304) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมา
กรุงเทพฯ – ภาคใต้
เส้นทางที่ 1 จากกรุงเทพฯไป จ.สมุทรสาคร – จ.สมุทรสงคราม (ทางหลวงหมายเลข 35) – แยกวังมะนาว – จ.เพชรบุรี (ทางหลวง
หมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เส้นทางที่ 2 จากกรุงเทพฯไป อ.สามพราน – อ.นครชัยศรี – จ.นครปฐม – จ.ราชบุรี – แยกวังมะนาว – จ.เพชรบุรี (ทางหลวง
หมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เส้นทางที่ 3 จากกรุงเทพฯไป ถนนบรมราชชนนี (ทางหลวงหมายเลข 338 ปิ่นเกล้า – นครชัยศรี) – อ.นครชัยศรี –จ.นครปฐม – จ.ราชบุรี – แยกวังมะนาว – จ.เพชรบุรี (ทางหลวงหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

การขับรถด้วยความเร็วเกินกว่ากำหนด ต่อเนื่องเกิน 2 นาที
suthat seangsai ข่าวสารและกิจกรรม 0
การขับรถด้วยความเร็วเกินกว่ากำหนด ต่อเนื่องเกิน 2 นาที
รถบรรทุก = 80 กม./ชม.
รถลากจูง= 60 กม./ชม.
รถโดยสาร = 90 กม./ชม.
มีความผิดตามมาตรา 111 (พรบ. การขนส่งทางบก) และ มาตรา 67 (พรบ.จราจรทางบกฯ) มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 5,000 บาท

การปลดหรือถอดเครื่อง GPS ของรถ
suthat seangsai ข่าวสารและกิจกรรม 0
การปลดหรือถอดเครื่องบันทึก ข้อมูลการเดินทางของรถ เครื่องบันทึกข้อมูลการเดิน ทางของรถ ถือเป็นเครื่องอุปกรณ์ของรถ ที่ต้องมีและใช้
หากตรวจพบ
– ขณะตรวจสภาพรถประจำปี จะไม่ให้ผ่านการตรวจสภาพ
– ขณะใช้งานบนถนน มีความผิดตามมาตรา 148 มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท

ความผิดการขับรถโดยไม่รูดบัตรแสดงตัวผู้ขับรถ
suthat seangsai ข่าวสารและกิจกรรม 0
การขับรถโดยไม่แสดงตัวผู้ขั บรถ หรือใช้ใบอนุญาตผิดประเภท ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย มีความผิดตามมาตรา 109
พนักงานขับรถ
– กรณีไม่แสดงตัวตน ผู้ตรวจการมีอำนาจสั่งให้มา รายงานตัว หรือสั่งพักใบอนุญาตได้ไม่เ กิน 180 วัน
– กรณีผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถ ปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างถูก ยึดใบอนุญาตขับรถ ตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินสอ งปีปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ประกอบการขนส่ง ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขประกอ บการขนส่ง มีโทษปรับสูงสุด 50,000 บาท

หลีกเลี่ยงการขนส่งสินค้าในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 11 – 17 เมษายน 2561
suthat seangsai ข่าวสารและกิจกรรม 0
วันที่ 11 – 17 เมษายน 2561 ขอความร่วมมือผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถบรรทุกและวัตถุอันตราย หลีกเลี่ยงการขนส่งสินค้าในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เพื่อลดความหนาแน่นของการจราจรตามมาตรการอำนวยความสะดวกและรองรับการเดินทางของประชาชน ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2561 ภายใต้แนวคิด “Safe Drive Save Lives ปลอดภัยทุกชีวิต ขับรถเป็นมิตรผู้ร่วมทาง” ซึ่งเป็นช่วงวันหยุดยาวที่ผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นจำนวนมากส่งผลให้มีการจราจรหนาแน่นและคับคั่ง ทั้งยังมีความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนสูงกว่าปกติ กรมการขนส่งทางบกจึงขอความร่วมมือ สหพันธ์ สมาคม ชมรม และผู้ประกอบการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกจำนวน 15 แห่ง หลีกเลี่ยงการขนส่งสินค้าและวัตถุอันตรายในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 11 – 17 เมษายน 2561 เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนน หากผู้ประกอบการขนส่งรายใดมีความจำเป็นต้องทำการขนส่งสินค้าในช่วงเวลาดังกล่าว ควรหลีกเลี่ยงเส้นทางและช่วงเวลาที่มีการสัญจรเป็นจำนวนมาก ต้องจัดให้มีสิ่งป้องกันไม่ให้สิ่งของที่บรรทุกตกหล่น รั่วไหล ส่งกลิ่น ส่องแสงสะท้อน หรือปลิวไปจากรถซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน ไม่จอดรถกีดขวางการจราจรและบริเวณไหล่ทาง กรณีที่รถเกิดขัดข้องหรือมีความจำเป็นต้องจอดรถในช่องทางเดินรถหรือบริเวณไหล่ทางจะต้องแสดงสัญญาณไฟกะพริบและจัดให้มีเครื่องหมายตามลักษณะและเงื่อนไขที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดตามกฎกระทรวงความปลอดภัยในการขนส่ง พ.ศ.2558 พร้อมดำเนินการแก้ไขและเคลื่อนย้ายรถให้พ้นจากทางเดินรถโดยเร็วที่สุด สำหรับรถพ่วงบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ต้องตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับยึดตรึง ตู้คอนเทนเนอร์ (Twist Lock) ไว้กับตัวรถให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดจากความบกพร่องของตัวรถและอุปกรณ์ส่วนควบของรถ ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการขนส่งละเลยหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่ง จนเป็นเหตุเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง มีความผิดเปรียบเทียบปรับสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท และต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย

คุณสมบัติ GPS Tracking สำหรับรถขนส่ง และรถโดยสาร
รับรองโดยกรมการขนส่งทางบก
Onelink Admin ข่าวสารและกิจกรรม กรมการขนส่งทางบก GPS จีพีเอส จีพีเอสรถยนต์ จีพีเอสรถบรรทุก, คุณสมบัติ GPS Tracking สำหรับรถขนส่ง และรถโดยสาร 0
ประเด็นความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุก เป็นนโยบายสำคัญที่กรมการขนส่งทางบกและกระทรวงคมนาคมดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ดำเนินการเข้มงวดตรวจจับความเร็วรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุก รวมถึงพนักงานขับรถให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด ภายใต้โครงการมั่นใจทั่วไทย รถใช้ GPS ซึ่งเป็นการบังคับให้รถโดยสารสาธารณะทุกคัน และรถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป ติดตั้ง GPS Tracking ตามคุณสมบัติที่กรมการขนส่งทางบก ควบคู่กับการติดตั้งเครื่องบ่งชี้พนักงานขับรถ (เครื่องรูดใบขับขี่แสดงตัวตนพนักงานขับรถ) พร้อมระบบการทำงาน Online แบบ Real-time เป็นเครื่องมือทางการบริหารจัดการที่สำคัญ สามารถตอบโจทย์ในทุกกรณีการขนส่งทางถนน ทั้งเรื่องความปลอดภัย พฤติกรรมการใช้รถใช้ถนน การจัดการปัญหาการจราจร พิกัด ความเร็ว ชั่วโมงการใช้รถ ข้อมูล การประกอบการขนส่ง การใช้พลังงาน ศักยภาพการขนส่ง ต้นทุนการเดินรถ ตลอดจนต้นทุนโลจิสติกส์ นำไปสู่การพัฒนาสังคม เศรษฐกิจที่มีโครงสร้างภูมิคุ้มกันด้วยฐานข้อมูลที่เป็นระบบ จุดเด่นที่นำไปสู่ปัจจัยแห่งความสำเร็จของโครงการมั่นใจทั่วไทย รถใช้ GPS คือ เน้นการบริหาร กำกับ ควบคุม ดูแล ในเชิงป้องกัน ที่เน้นปัจจัยสาเหตุ ปัจจัยต้นเหตุ ด้วยการใช้ประโยชน์จากระบบติดตามรถ Online แบบ Real-time โดยสร้างระบบแจ้งเตือน Alert/Alarm เฝ้าระวังและป้องกันจึงสามารถจัดการปัญหาได้มากกว่าการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ อีกประการหนึ่งของปัจจัยแห่งความสำเร็จคือเป็นการออกแบบระบบที่บริหารจัดการร่วมกันแบบ 360 องศา แทนการจับปรับ ลงโทษ ผู้กระทำผิดอย่างเดียว โดยพัฒนาระบบที่ใช้ข้อมูลชุด Database ที่เป็น Online ชุดเดียวกันมาบริหารร่วมกัน มาช่วยกันบริหาร คือ ศูนย์ GPS กลาง ที่กรมการขนส่งทางบก ร่วมกับ ศูนย์ GPS ขนส่งจังหวัดทั่วประเทศที่แยกบริหารข้อมูลในเชิงพื้นที่จังหวัด รายเส้นทาง รายคัน ควบคู่กับการออกแบบระบบให้ผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่และรายย่อยติดตามบริหารจัดการของรถทุกคันในเครือข่ายด้วยตนเอง ประกอบกับประชาชน สังคม สาธารณะ ยังสามารถติดตามรถที่สนใจ รถที่ใช้บริการ หรือเกี่ยวข้อง ได้ทุกคันผ่าน Application: DLT GPS ทางโทรศัพท์มือถือ ทุกระบบ บนข้อมูลที่เป็น Online แบบ Real-time ชุดเดียวกัน
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับการ กำหนดคุณลักษณะของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทาง (GPS) และ กำหนดประเภทและลักษณะของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ (GPS) สามารถตรวจสอบได้ที่ ลิ้งค์ด้านล่าง หรือต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการติดตั้ง GPS จีพีเอส ที่รองโดยกรมการขนส่งทางบก ได้ที่ แผนกบริการลูกค้า บริษัท วันลิ้งค์ เทคโนโลยี่ จำกัด (สำนักงานใหญ่) โทร. 02 106 5322 ตลอด 24 ชั่วโมง
เอกสารดาวน์โหลด
กำหนดประเภทและลักษณะของรถ ที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ที่ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ก่อนการตรวจสภาพรถเพื่อต่ออายุทะเบียน พ.ศ. ๒๕๕๘
กำหนดประเภทและลักษณะของรถ ที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ที่ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางก่อนจดทะเบียน พ.ศ. ๒๕๕๘
กำหนดประเภทและลักษณะของรถ ที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ที่ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ก่อนการตรวจสภาพรถเพื่อต่ออายุทะเบียน พ.ศ. ๒๕๕๘
กำหนดประเภทและลักษณะของรถ ที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ที่ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทาง ก่อนจดทะเบียน พ.ศ. ๒๕๕๘
กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ ที่ใช้ในการขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๘
กำหนดคุณลักษณะและระบบการทำงานของเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ สำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร มาตรฐาน ๔ (รถสองชั้น) พ.ศ. ๒๕๕๘
ขอบคุณข้อมูล https://www.dlt.go.th/th